โรงเรียนอัมพวันศึกษา
ผลงานที่ดำเนินการแล้ว
 
การจัดประชุมขยายผลการดำเนินงานการกำจัดอุบัติเหตุจากการเล่นและกีฬา
วันที่ 28 มิถุนายน 2549 เวลา 13.00-15.00 น.
ณ ห้องประชุมโรงเรียนอัมพวันศึกษา
 
การ ประชุมเริมเวลา 13.30 น. มีผู้เข้าร่วมประชุมประมาณ 30 ท่าน ประกอบด้วย
ผอ.โรงเรียน ครูใหญ่ คณะครู ตัวแทนนักเรียน ผู้ปกครอง และตัวแทนโรงเรียนเครือข่าย ได้แก่
โรงเรียนช่างอากาศอำรุง โรงเรียนกันตบุตร และโรงเรียนบัณฑวัฒนาการ เจ้าหน้าที่จาก สนง.การศึกษา เขตดุสิต
การนำเสนอผลการดำเนินโครงการ นำเสนอตามหัวข้อที่ทางศูนย์วิจัยได้กำหนดให้ ประกอบด้วยหัวข้อดังต่อไปนี้
 
1. ก่อนดำเนินกิจกรรม
 
- การประชาสัมพันธ์โครงการ มี การประชาสัมพันธ์หน้าเสาธง และตามห้องเรียนโดยให้ครูประจำชั้นประกาศในห้องเรียน
ยกเว้นชั้นอนุบาล เนื่องจากโครงการไม่เน้นกลุ่มเป้าหมายที่เป็นนักเรียนชั้นอนุบาล
- การแต่งตั้งคณะกรรมการ แต่งตั้งคณะกรรมการครูและนักเรียน ดูแลบริเวณสนามเด็กเล่น และมีการจดบันทึกการเกิดอุบัติเหตุโดยคณะกรรมการนักเรียน
 
2. การดำเนินกิจกรรม
 
- การสำรวจจุดเสี่ยง ระหว่างทีมีการทำโครงการไม่มีการบันทึก
- การบันทึกข้อมูลการบาดเจ็บ/รวบรวมข้อมูล ใช้การจดบันทึกการเกิดอุบัติเหตุโดยคณะกรรมการนักเรียน
- กิจกรรมในโครงการ ได้แก่ การจัดป้ายนิเทศ การอบรมการเล่นให้ปลอดภัย การฝึกการเดินแทนการวิ่ง การติดป้ายระวังบริเวณต่างๆ กิจกรรมแต่งคำขวัญ
- การเงินและบัญชี
รายการค่าใช้จ่ายในโครงการ
1. กระดาษสี 20 แผ่น 200 บาท
2 การ์ตูนยางพารา 200 บาท
3. โปสเตอร์ภาพอุบัติเหตุ 10 แผ่น 150 บาท
4. ฟิวเจอร์บอร์ด 430 บาท
5. กระดาษ เอ 4 2 รีม 260 บาท
6. กระดาษปอนด์ 150 บาท
7. รางวัล 2000 บาท
8. หมึกปริ้นซ์ 2 ชุด 1340 บาท
9. กระดาษทำเกียติบัตร 442 บาท
รวม 5,072 บาท
 
3. สรุปผลจากการดำเนินกิจกรรม
 
กิจกรรมบรรลุวัตถุประสงค์เป็นอย่างดี เดือน ต.ค.-พ.ย. มีการเกิดอุบัติเหตุ แต่ช่วงที่ทำโครงการไม่มีการเกิดอุบัติเหตุ
 
4. การประเมินผล
 
ประเมินผลจากกรสังเกต และการใช้แบบสอบถามถามนักเรียน 100 คน
 
5. ปัญหาอุปสรรค
 
6. ข้อเสนอแนะอื่นๆ
 
อ. มาตรพงศ์ จากโรงเรียนช่างอากาศอำรุง บอกว่า ทางโรงเรียนก็มีการดูแลเด็กในเรื่องของความปลอดภัยเช่นกัน และชื่นชมการทำโครงการของโรงเรียนอัมพวันศึกษา
 

อ.มนัส สุภาพงษ์ จากโรงเรียนกันตบุตร ซักถาม

1. อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบ่อยในโรงเรียนคืออะไร

อ.วรพงษ์ตอบคำถาม อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบ่อย ได้แก่ การวิ่งชนกัน

2. ปฏิบัติอย่างไรเมื่อเกิดอุบัติเหตุ

อ.วรพงษ์ตอบว่า นำไปห้องพยาบาล หากอาการหนักก็นำส่งโรงพยาบาล

3. มีการจัดการจราจรเมื่อนักเรียนไป-กลับ โรงเรียนอย่างไร

อ.วรพงษ์ตอบว่า มีเจ้าหน้าที่เทศกิจอำนวยความสะดวกหน้าโรงเรียนร่วมกับ ครูเวร ลูกเสือ-เนตรนารี

4. เคยเห็นนักเรียนอนุบาลของโรงเรียนข้ามถนนเองช่วงเวลาใกล้ค่ำ

อ.วรพงษ์ตอบว่า มีนักเรียนบางส่วนที่ข้ามเป็นประจำ และฝั่งตรงข้ามเป็น สน.สามเสนซึ่งจะมีตำรวจคอยดูแลอยู่

5. รร. อยู่ใกล้คลอง ไม่ทราบว่าครูมีการดูแลไม่ให้เด็กเข้าใกล้บริเวณคลองหรือไม่

อ.วรพงษ์ตอบว่า เรามีการตักเตือนนักเรียนไม่ให้เข้าใกล้บริเวณนั้น และเด็กของเราก็จะกลัว

6. มีการป้องกันป้องกันตู้น้ำเย็นดูดอย่างไร

อ. วรพงษ์ บอกว่า เมื่อก่อโรงเรียนมีอาคารเป็นอาคาร 2 ชั้น เด็กจะเดินลงไปกินน้ำชั้นล่าง แต่ปัจจุบันมีอาคาร 4 ชั้นจึงมีการติดตั้งตู้น้ำเย็นเพื่ออำนวยความสะดวกให้นักเรียน

อาจารย์ จากโรงเรียนบัณฑวัฒนาการ ชี้แจงว่า โรงเรียนมีการจัดกิจกรรมหมากรุก และกิจกรรมอื่นๆให้นักเรียนในช่วงพักกลางวัน เพื่อให้เด็กวิ่งเล่นน้อยลง

อาจารย์จากโรงเรียนราชินีบน ทางโรงเรียนให้นักเรียนชั้น ม.4 และม.5 ดูแลน้องๆ ร่วมกับครูเวร

ตัวแทนผู้ปกครองนกเรียน เสนอแนะว่า ครูควรดูแลการเล่นของเด็ก เพราะเวลามารับ - ส่งลูกมักพบเด็กๆเล่นกันรุนแรง

 
 

นัก วิจัยจากศูนย์วิจัยฯ ซักถามเกี่ยวกับการบันทึกการเกิดอุบัติเหตุ ทำไมต้องมีทั้ง 3 เล่ม ทั้งๆที่ผู้บันทึกก็เหมือนกันทั้ง 3 เล่ม
วันที่ก็เหมือนกัน อะไรคือสิ่งที่แตกต่างกัน และรายละเอียดในบันทึกที่มีการแบ่งแยกการบาดเจ็บที่รุนแรง และไม่รุนแรงนั้นแบ่งอย่างไร

เรา ได้รับคำตอบว่า การแบ่งนั้น หากบาดเจ็บไม่รุนแรงจะหมายถึงไม่บาดเจ็บ แต่ถ้าบาดเจ็บรุนแรงจะหมายถึงการได้รับการบาดเจ็บทุกกรณี
ซึ่งครูอธิบายกับเราว่าเป็นความเข้าใจผิดของเด็ก จึงเป็นข้อสังเกตของเราว่าก่อนจะมีการใช้แบบบันทึก
ครูได้มีการอบรมนักเรียนก่อนที่จะให้นักเรียนบันทึกหรือไม่ และในส่วนของบันทึก 3 เล่มครูอธิบายว่า
มีการบันทึกทุกวัน วันละ 3 เวลาคือ เช้า กลางวัน และเย็น

และ มีการขอให้มีการเพิ่มเติมรายงานให้สมบูรณ์ รวมถึงของแบบบันทึกการบาดเจ็บของโรงเรียนตลอดระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมา บันทึกการสำรวจจุดเสี่ยง