โรงเรียนสวนบัว
ประวัติโรงเรียนสวนบัว
โรงเรียน สวนบัวเป็นโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน ( สช .) ก่อตั้งโดยศาสตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์ อวย เกตุสิงห์ และรองศาสตราจารย์ ม.ร.ว.ส่งศรี เกตุสิงห์ ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ.2501 ตามใบอนุญาตเลขที่ 46/2501 โดยมีศาสดาจารย์นายแพทย์ อวย เกตุสิงห์ เป็นผู้รับใบอนุญาต คุณหญิงบรรจบพันธ์ นวรัตน์ ณ อยุธยา เป็นผู้จัดการคนแรก และครูใหญ่คนต่อมาตามลำดับดังนี้
นางประยูร รัตนสาขา (พ.ศ.2503 – 2507)
นางสมควร ทองประคำ (พ.ศ.2507 – 2507)
นายเจษฎ์ ปรีชานนท์ (พ.ศ.2507 – 2515)
นางสาวเศวต จึงเจริญ (พ.ศ.2515 – 2516)
นายไพบูลย์ วิสุตกุล (พ.ศ.2516 – 2518)
นางสาวเสาวลักษณ์ หิตะศักดิ์ (พ.ศ.2518 – 2524)
หม่อมหลวงจิตรภาณี เกษมศรี (พ.ศ.2524 – 2528)
นางสาวอัมพร กาญจนราช(พ.ศ.2528 – 2530)
นายมนัส รัตนดิลก ณ ภูเก็ต (พ.ศ .2530 – 2532)
นางประจวบ แก้วทิพย์ (พ.ศ.2532 – 2534)
นางสุรางค์ สุวรรณศรี (พ.ศ.2534 – ปัจจุบัน)
 
โรงเรียน ตั้งอยู่เลขที่ 16/1 ซอยพหลโยธิน 5 (ซอยราชครู) ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร อยู่ในเนื้อที่ 3 ไร่ 3 งาน 55 ตารางวา ในระยะแรกเปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาลถึงประถมปีที่ 4 และได้ขอขยายชั้นเรียนขึ้นเรื่อยๆจนถึงระดับมัธยมปลาย ในอาคารเรียน 3 หลังจำนวนห้องเรียน 58 ห้องเรียน
 
ปัจจุบัน โรงเรียนเปิดสอนในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 – 3 และระดับประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 โรงเรียนอยู่ภายใต้การควบคุมของมูลนิธิ อวย – ส่งศรี เกตุสิงห์ โดยมีศาสตราจารย์เกียรติฅคุณ นายแพทย์ นรา แววศร เป็นผู้รับใบอนุญาตดร.แพทย์หญิงเทียมจันทร์ เจียมประเสริฐ และ
นาง สุรางค์ สุวรรณศรี ครูใหญ่ศาสตราจารย์แพทย์อวย เกตุสิงห์และรองศาสตราจารย์ม.ร.ว.ส่งศรีเกตุ สิงห์ ได้ก่อตั้งโรงเรียนสวนบัวด้วยความตั้งใจที่จะประกอบการกุศลวิทยาทานแก่ สาธารณชน ให้การอบรมกุลบุตร กุลธิดา ให้เป็นคนดีของสังคมและพลเมืองดีของชาติที่มีความรู้ มีพลานามัยสมบูรณ์ พร้อมด้วยคุณธรรมและอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยท่านทั้งสองจึงได้จัดสร้างโรงเรียน ขึ้นในบริเวณบ้านและจัดให้มีการเรียนการสอนแบบบวรคือ ให้โรงเรียนเป็นเสมือนบ้านหลังที่ 2 และให้ปรัชญาทางพระพุทธศาสนาในการ อบรมสั่งสอน ตลอดจนการดำรงรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมไทย
 
สภาพปัญหาการบาดเจ็บ
 

ปัญหาเดิมก่อนเริ่มโครงการและความคิดเห็นของครูผู้ดูแลเรื่องความปลอดภัย
จาก การที่ได้สอบถามท่านอาจารย์เยาวมาลย์ ธัญญา ผู้ประสานงานในโครงการของโรงเรียนท่านได้บอกว่า
ปัญหาเกี่ยวกับการบาดเจ็บก่อนที่จะเข้าโครงการนี้นั้น มีดังนี้

1. สนามเด็กเล่นไม่ได้มาตรฐานทำให้นักเรียนเกิดอุบัติเหตุบ่อยๆ
2. หน้าต่างของห้องเรียนส่วนมากเป็นบานเกร็ด
3. ฝาท่อระบายน้ำชำรุดหลายอัน
4. พื้นสนามส่วนมากเป็นปูน
5. พื้นที่ที่จะให้นักเรียนเล่นและทำกิจกรรมแคบ
6. ห้องเรียนบางห้องวางโต๊ะ-เก้าอี้ ไม่ค่อยเรียบร้อย
7. ขอบบันไดส่วนที่เป็นยางชำรุดทำให้นักเรียนเกิดอุบัติเหตุได้
8. บางจุดแสงสว่างไม่เพียงพอ

 
ก่อนเข้าร่วมโครงการ
 
• โรงเรียนสวนบัวให้ความสนใจความปลอดภัยของนักเรียนในด้านสิ่งแวดล้อมมาก่อนโดยโรงเรียนเป็นผู้จัดการ
ทำ แต่เพียงผู้เดียวไม่มุ่งเน้นการทำงานแบบกระบวนการกลุ่ม ไม่มีการจัดตั้งกลุ่มวิเคราะห์ปัญหาและวางแผนการแก้ปัญหา ส่วนใหญ่ผู้แก้ปัญหาเป็นผู้จัดการโรงเรียนแต่เพียงผู้เดียว
• การแก้ปัญหาเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะในโรงเรียนเท่านั้นไม่มีการขยายผลหรือนำเสนอต่อโรงเรียนอื่น ๆ
• ชุมชนไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการแก้ปัญหาเป็นเรื่องของโรงเรียนจัดการเองในเรื่องของความปลอดภัย
• ไม่มุ่งเน้นให้นักเรียนมามีส่วนในการแก้ปัญหา
 
หลังเข้าร่วมโครงการ
 
• ทำให้ได้ความรู้ทางเทคนิควิชาการ เป็นการเน้นขบวนการพัฒนาตนเองของโรงเรียน
โดยมีกระบวนการพัฒนาแบบส่วนร่วมทั้งนักเรียนผู้ปกครอง ครู ผู้บริหารอย่างเป็นขั้นตอน
• มีการจัดตั้งกระบวนการกลุ่มเป็นกลุ่มดำเนินการ
• รู้วิธีสำรวจปัญหาความต้องการและการแก้ไขของโรงเรียน เช่น การบาดเจ็บของนักเรียนในโรงเรียนสิ่งแวดล้อมที่เสี่ยงต่อการบาดเจ็บ
• ทำให้การจัดตั้งระบบการเฝ้าระวังความเสี่ยงและการบาดเจ็บ โดยมีแบบบันทึกการรายงานผลการเกิดอุบัติเหตุในโรงเรียนและ
มีการสำรวจสิ่งแวดล้อมที่ก่อให้เกิดอันตราย
• ทำให้มีการวิเคราะห์สาเหตุแห่ปัญหาโดยการนำข้อมูลจากแบบการบันทึกการรายงานผลการเกิดอุบัติเหตุในโรงเรียนและ
การสำรวจสิ่งแวดล้อมที่ก่อให้เกิดอันตรายโดยจัดให้มีการประชุมกลุ่ม
• มีการวางแผนแก้ไขปัญหา และนำเสนอต่อผู้บริหารระดับสูง
• ดำเนินการแก้ไขปัญหา ติดตาม และประเมินผล โดยการดำเนินงานของกลุ่มทุก 2 เดือนจัดให้มีการประชุม
 

หลัง จากเข้าร่วมโครงการ “ โรงเรียนสร้างเสริมความปลอดภัย “
แล้วทำให้ทราบข้อมูลสถิติของการเกิดอุบัติเหตุภายในโรงเรียนจากแบบบันทึกการ บาดเจ็บในและบริเวณโรงเรียนลดลง
จากการสำรวจแบบการบันทึกทั้ง 2 แบบ คือ แบบบันทึกสถิติการเกิดอุบัติเหตุภายใน/นอกโรงเรียนและแบบบันทึกสถิติการเกิด
อุบัติเหตุจากการนั่งรถจักรยานยนต์นั้นถึงแม้ว่าสถิติการเกิดอุบัติเหตุภาย ในโรงเรียนจะลดลงก็ตาม

อย่างไรก็ดียังมีสถิติการเกิดอุบัติเหตุจากการโดยสารรถจักรยานยนต์มาและกลับ จากโรงเรียนมากถึง 43 คน คิดเป็นร้อยละ 2.34%
ของนักเรียนทั้งหมดด้วยเหตุนี้ทางโรงเรียนจึงต้องประชาสัมพันธ์ให้ครู นักเรียนผู้ปกครองชุมชนเข้ามามีบทบาทในการมีส่วนร่วม
ช่วยกันป้องกันการเกิด อุบัติเหตุโดยเฉพาะนักเรียนต้องสร้างความตระหนักในเรื่องความปลอดภัยให้มาก

ดังนั้นทางโรงเรียนได้จัดงานวิชาการขึ้นในวันเสาร์ ที่ 8 กุมภาพันธ์ 2546 ซึ่งเป็นงานของโรงเรียนร่วมกับสมาคมผู้ปกครองและ
เพื่อที่จะเผยแพร่ความรู้ด้านความปลอดภัยในการขับขี่รถจักรยานยนต์/การสวม หมวกนิรภัยอย่างปลอดภัยให้กับชุมชนและ
ผู้ปกครองได้รับทราบและสร้างความ ตระหนักให้นักเรียนมากขึ้นโดยให้กรรมการนักเรียนพูดหน้าเสาธงในตอนเช้าพร้อม
ทั้งคณะกรรมการนักเรียนพูดหน้าเสาธงในตอนเช้าพร้อมทั้ง
มีคณะกรรมการนักเรียนดูแลด้านความปลอดภัยให้แก่นักเรียนตลอดทั้งวัน
อีกทั้ง เชิญชวนให้ครูทุกท่านนำแผนการสอนเรื่องการใช้รถใช้ถนนอย่างถูกต้องปลอดภัย
ของกระทรวงศึกษาธิการนำไปใช้สอนสอดแทรกในบทเรียนตั้งแต่ประถมที่1–6
พร้อม ทั้งยังคงมีการเดินสำรวจตรวจสิ่งแวดล้อมให้ก่อให้เกิดอันตราย ในครั้งที่3และ4ต่อไปและ
ยังคงมีการบันทึกการบาดเจ็บในและบริเวณรอบโรงเรียน อีกต่อไป เพื่อจะได้เป็นข้อมูลในการแก้ไขปัญหาเพื่อพัฒนาในโอกาสต่อไป

 
“ภาพกิจกรรมโครงการสร้างเสริมความปลอดภัยของโรงเรียนสวนบัว”