เวทีเสวนา "รู้เท่าทันไข้หวัดใหญ่ 2009"
 

 

  25 มิถุนายน 2552
  เริ่มประชุม ๑๔.๐๐ น.
   
 
   
  นพ.พัชรสาร ( ภ.กุมารเวชศาสตร์ รพ.รามาธิบดี )
กล่าวถึงรายละเอียดการเกิดโรคไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ 2009
พูดถึงอาการของโรคเบื้องต้น การรักษา การติดเชื้อ การป้องกัน
และกลุ่มที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน เป็นต้น
   
 
   
  ศ.นพญ.สยมพร ศิรินาวิน ( รพ.รามาธิบดี)
ให้ รร. ชุมชน ทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไข้หวัดใหญ่ 2009
ว่าโรคที่เกิดขึ้นไม่ได้ร้ายแรงอย่างที่คิด และแหล่งที่มาของโรค
รวมถึงอาการ แนวทางป้องกัน การรักษา เป็นต้น และ
รายงานที่ทางกรมควบคุมโรคได้เปิดเผยตัวเลขประมาณ 1 พันคน
   
  แต่ความเป็นจริง ตัวเลขที่อาจจะมากกว่าที่เปิดเผย
แต่สำหรับที่ไม่เปิดเผยเป็นเพียงอาการไข้หวัดธรรมดาเท่านั้น
ไม่ได้มีอาการหนัก จึงไม่เปิดเผยตัวเลขเหล่านั้น
   
  คุณจินตนา ( สนง.เขตราชเทวี ) ถ้าทาง รร. หรือ ชุมชน
ต้องเอกสารใบความรู้ต่างๆ เกี่ยวกับ การป้องกันโรคไม่ให้ติดเชื้อ
หรือเมื่อเป็นแล้วต้องปฏิบัติตัวอย่างไร ให้ไปติดต่อขอรับที่
สนง.เขตราชเทวีได้
   
  ซึ่งทางสนง.เขตราชเทวี ก็มีการรณรงค์ ให้ความรู้แก่ประชาชนทั่วไป
ที่มาติดต่องาน ได้รับทราบถึงโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 ที่เกิดขึ้น
รวมทั้งมีการทำความสะอาด สนง. อยู่ตลอดเวลา
   
 
   
 

นพ.อดิศักด์ ( ศูนย์วิจัยฯ ) สรุปการใส่หน้ากากอนามัย
ไม่ได้ช่วยให้สามารถป้องกันได้ 100 % เพราะเวลาใส่แล้ว
เราก็ยังเอามือไปจับ ไปขยับ

ซึ่งทำให้เชื้อโรคติดมือ และเข้าสู่ร่างกายได้เมื่อ นำมือไปจับจมูก ปาก
และขยี้ตา เป็นต้น และฝากให้ชุมชน ช่วยสังเกตอาการเบื้องต้น
ของคนในชุมชน เช่น ถ้ามีอาการไม่สบายน้ำมูกไหล ไอ จาม
เป็นไข้หวัดธรรมดา ให้กักผู้ป่วยไว้ในบ้าน ห้ามออกไปนอกบ้าน
แยกห้องนอน ห้ามใช้ของร่วมกัน ก็จะสามารถป้องกันการแพร่เชื้อได้

   
  รร. กวดวิชา และ รร. ต่างๆ ถ้าพบเห็นเด็กที่มีอาการ
ก็ให้เด็กพัก หยุดเรียน แต่ต้องให้ครูช่วยดูเรื่องเรียนของเด็กด้วย
เพราะเขากลัวว่าจะเรียนไม่ทัน ห้ามไปตัดเวลาการเรียนของเด็ก
ต้องมีการเพิ่มเวลาเรียนของเด็กด้วย
   
 
   
  นพ.กาณฑ์ ( กองควบคุมโรค )
เสนอถ้าเด็กที่ไม่สบายไม่ยอมหยุดเรียน
เราก็ต้องป้องกันตัวเอง ต้องใส่หน้ากากอนามัยเอง
มีการแจกหน้ากากอนามัยให้เด็กทุกคน ให้ความรู้
หมั่นล้างมือด้วยสบู่ตลอดเวลา รักษาสุขภาพ ออกกำลัง เสมอ