ภาคการศึกษาที่ 1/2551

โรงเรียนบ้านซับสิงโต

เก็บข้อมูลตั้งแต่วันที่  1  กรกฏาคม  2551  ถึงวันที่  10  ตุลาคม  2551

     
  1.ข้อมูลแบบันทึกการสำรวจ ผลรายงานดังนี้  
     
 
     
  1. ได้เดินสำรวจสิ่งแวดล้อมเสี่ยงใน-รอบโรงเรียน จำนวน 2 ครั้ง  
     
  2. พบสิ่งแวดล้อมเสี่ยง/ไม่ปลอดภัย จำนวน...12...ที่ ดังนี้  
 
     
  1. เรือไวกิ้ง น๊อตที่เสาคายตัวทำให้เสาไม่ยึดแน่นกับเหล็กที่อยู่ด้านบน เวลาเล่นอาจทำให้ตัวเรือหลุดจากได้  
     
  2. ชิงช้า ฐานไม่ยึดติดกับพื้น ถ้าแกว่งแรง ๆ อาจทำให้ล้มทับได้  
     
  3. ลูกโลก น๊อตที่ยึดกับฐานคายตัว ลูกปืนแตกขาดการทรงตัว ถ้าหมุนลูกโลกเล่นแรงอาจทำให้หลุดออกมาได้  
     
  4. ม้าหมุน ลูกปืนแตกขาดการทรงตัว เอียง อาจเกิดอันตรายได้ในเวลาเล่น  
     
  5. เครื่องห้อยโหน หวงโซ่สำหรับโหนยืดออก อาจหลุดเวลาโหนได้  
     
  6. แป้นบาสชำรุด อาจทำให้ตกลงมาใส่ศรีษะของนักเรียนได้  
     
  7. พื้นสนามบาสแตก เวลาเล่นอาจสดุดหกล้มได้  
     
  8. หลุมขยะ มีเศษกระเบื้อง เศษแก้วแตกบริเวณปากหลุม อาจทำให้เกิดอันตรายเวลานักเรียนไปเทขยะ  
     
  9. กองไม้หลังห้องสมุด มีตะปูที่ติดกับไม้ อาจทำให้เหยียบตะปูได้  
     
  10. ทางเดินข้างห้องสำนักงาน หน้าต่างติดกับทางเดิน เวลาเปิดหน้าต่างขณะที่มีคนเดินอาจทำให้ชนศรีษะได้  
     
  11. ทางเดินระหว่างอาคาร 2 และอาคารเฉลิมพระเกียรติ พื้นปูนแตกและลาดชั้น เมื่อฝนตกอาจทำให้ลื่นได้  
     
  12. ทางเดินระหว่างอาคาร 1 กับห้องสำนักงาน ลาดชันอาจทำให้ลื่นล้มได้  
     
 
  3.แนบสำเนาแบบบันทึกการเดินสำรวจทั้งหมด จำนวน......21.....แผ่น มาพร้อมรายงานนี้
ได้จัดส่งมาแล้ว เมื่อวันที่ เดือน กันยายน 2551
 
     
 
     
  2.ข้อมูลแบบรายงานบันทึกการบาดเจ็บในและบริเวณรอบโรงเรียน ผลรายงานดังนี้  
     
 
  1.ได้บันทึกการบาดเจ็บของนักเรียน จำนวน..19...คน  
     
  2.พบการบาดเจ็บ จากสิ่งแวดล้อมเสี่ยงจำนวน....14....คน จากพฤติกรรมเสี่ยงจำนวน....5....คน  
     
  3.การบาดเจ็บจากสิ่งแวดล้อมเสี่ยงนั้น มีจำนวน....6........คน ที่เกิดจากสถานที่สิ่งแวดล้อมเสี่ยง/ไม่ปลอดภัย ได้เคยสำรวจไว้  
     
  4.แนบสำเนาแบบบันทึกการบาดเจ็บในและบริเวณรอบโรงเรียนทั้งหมด จำนวน ..19....ชุด (2 แผ่น/ราย) มาพร้อมรายงานนี้ ได้จัดส่งมาแล้ว เมื่อวันที่...1.....กันยายน...2551...  
     
 
 

3.  การวิเคราะห์

 
     
  โรงเรียนบ้านซับสิงโตได้จัดตั้งคณะกรรมการเสริมสร้างความปลอดภัยในโรงเรียน โดยมีครู นักเรียนและผู้ปกครอง ดังรายชื่อต่อไปนี้  
     
  1. นายทศพล พูลสำราญ ประธาน
2. นางสาวขวัญใจ ป้อมพระเดช เลขานุการ
3. นางสาวลัดดาวรรณ คันทรง กรรม
4. เด็กหญิงพรรณอร พลจันทึก
5. เด็กหญิงวรรณภา ฉัตรกระโทก
6. เด็กหญิงธนัชพร พุฒเภา
7. เด็กหญิงเกษรินทร์ วิรุนพันธ์
8. เด็กชายจิรศักดิ์ วิรุนพันธ์
9. เด็กชายพงพนา วัดสำโรง
10. เด็กหญิงภาวิณี โสนนอก
11. เด็กหญิงอินทิรา สอนดี
12. เด็กหญิงสุมิตรานันท์ ศรีปัตถา
13. เด็กหญิงโสมนัสสา สุขลาภ
14. เด็กชายไชยวัฒน์ พงษ์สุวรรณ
15. นางลัดดาวัลย์ ภู่ศรี ผู้ประสานงาน
 
     
  ได้ทำการวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์ปัญหารการบาดเจ็บของนักเรียนและความไม่ปลอดภัยในโรงเรียน โดยมีวิธีการดังต่อไปนี้  
     
 
     
  1.ประชุมคณะกรรมการสร้างเสริมความปลอดภัยในโรงเรียน  
     
  2.จัดกลุ่มคณะกรรมการเพื่อสำรวจความเสี่ยงในโรงเรียน  
     
  3.เดินสำรวจแต่ละจุดและจดบึนทึกข้อมูลความเสี่ยง  
     
  4.นำจุดเสี่ยงที่สำรวจได้มารวบรวมและสรุปรวมกัน  
     
  5.แก้ไขจุดเสี่ยงที่อาจเกิดอันตรายมากที่สุดตามลำดับ  
     
  6.จุดเสี่ยงที่ยังแก้ไขไม่ได้ ก็ใช้วิธีการติดป้ายเตือนเพื่อให้เกิดความระมัดระวังในการเล่น  
     
  7.เมื่อนักเรียนได้รับการบาดเจ็บให้แจ้งที่ครูประจำชั้นหรือครูเวร  
     
  ผลสรุปที่เกิดขึ้น จากการทำงานตามขั้นตอนข้างตน ทำให้นักเรียนมีความระมัดระวังในการเล่น ทำให้อุบัติเหตุบริเวณที่เป็นจุดเสี่ยงที่สำรวจไว้ลดลง  
     
 
     
 

4.  มาตรการหรือแผนการจัดความปลอดภัยของภาคการศึกษาที่ 2/2551

 
     
  1. จัดครูเวณและลูกเสือจราจรรับส่งนักเรียนเช้า เย็น บริเวณถนนทางเข้าโรงเรียน
2. ทำทางม้าลาย ป้าย หรือสัญญาไฟบริเวณหน้าโรงเรียน
3. ซ่อมแซมเครื่องเล่นที่ชำรุดและปรับพื้นสนามเด็กเล่นให้เรียบ
4. จัดทำโรงจอดจักรยานที่มาตราฐาน
5. จัดหาหมวกนิรภัยให้เพียงพอกับนักเรียน
6. ปรับพื้นถนนในบริเวณโรงเรียนให้เรียบ
 
     
 

5.  ปัญหาอุปสรรค

 
     
  1. ครูเวรบางเวรและลูกเสือจราจรไม่คอยมาปฏิบัติหน้าที่
2. เครื่องเล่นชำรุด เมื่อติดป้ายเตือนไว้นักเรียนชอบดึงออกบ่อยมาก
3. พฤติกรรมการเล่นของนักเรียนรุนแรงกว่าเดิม
4. นักเรียนไม่บันทึกการบาดเจ็บให้เป็นปัจจุบัน
 
     
 

6.  ข้อคิดเห็น

 
     
  อยากให้ทางวิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยจัดทำวุฒิบัตรให้ผู้ประสานคนทุกคนปีละหนึ่งครั้ง เพื่อนำไปใช้ในการทำผลงานทางวิชาการ  
     
 

7.  ผู้รวบรวมข้อมูล

 
     
  1. นางลัดดาวัลย์ ภู่ศรี
2. นางสาวขวัญใจ ป้อมพระเดช