ภาคการศึกษาที่ 1/2551

   
  โรงเรียนบ้านด่านชัยพัฒนา
 

เก็บข้อมูลตั้งแต่วันที่  1  กรกฎาคม 2551 ถึงวันที่ 25  กันยายน  2551

   
 
  1. ข้อมูลแบบบันทึกการเดินสำรวจ ผลรายงานดังนี้
 
   
  1. ได้เดินสำรวจสิ่งแวดล้อมเสี่ยงใน-รอบโรงเรียน จำนวน 3 ครั้ง
   
  2. พบสิ่งแวดล้อมเสี่ยง/ไม่ปลอดภัย จำนวน 6 ที่ ดังนี้
   
  2.1 ทางเดินหลังอาคาร มีความเสี่ยง 40 % ( ทางเดินด้านหลังอาคารผ่านบานหน้าต่างที่เปิดอ้าเสมอศีรษะ อาจเดินชนได้รับบาดเจ็บ )
   
  2.2 โต๊ะม้าหินข้างสนามหญ้า มีความเสี่ยง 40 % ( สภาพโต๊ะชำรุดนักเรียนชอบ ปีนป่าย อาจล้มทับนักเรียนจนได้รับอันตราย )
   
  2.3 กองเศษไม้และเศษวัสดุข้างอาคาร มีความเสี่ยง 40% ( กองเศษวัสดุวางใกล้พื้นที่โล่งที่นักเรียนชอบวิ่งเล่น อาจก่อให้เกิดอันตรายกับนักเรียน )
   
  2.4 แท่งปูนกองอยู่ใต้แป้นสนามบาส มีความเสี่ยง 50 % ( นักเรียนชอบมา-วิ่งเล่นและห้อยโหน )
   
  2.5 กองวัสดุข้างโต๊ะปิงปอง มีความเสี่ยง 50 % ( นักเรียนซุกซนชอบปีนป่ายขณะรอคิวเล่นปิงปอง )
   
  2.6 เสาเหล็กหน้าระเบียงอาคาร มีความเสี่ยง 30 % ( ตั้งอยู่บนทางเดินนักเรียนที่วิ่งเล่นอาจไม่ระวัง ชนเสาได้รับบาดเจ็บ )
   
   
 
  2. ข้อมูลแบบบันทึกการบาดเจ็บในและบริเวณรอบโรงเรียน ผลรายงานดังนี้
 
   
  1.ได้บันทึกการบาดเจ็บของนักเรียน จำนวน 15 ราย
   
  2.พบการบาดเจ็บจากสิ่งแวดล้อมเสี่ยง จำนวน 8 ราย จากพฤติกรรมเสี่ยงจำนวน 7 ราย
   
  3.การบาดเจ็บจากสิ่งแวดล้อมเสี่ยงนั้น มีจำนวน 4 ราย ที่เกิดเหตุจาก สถานที่สิ่งแวดล้อมเสี่ยง/ไม่ปลอดภัย ได้เคยสำรวจไว้
   
  4.แนบสำเนาแบบบันทึกการบาดเจ็บในและบริเวณรอบโรงเรียนทั้งหมด จำนวน 15 ชุด ( 2 แผ่น/ราย)
   
   
 
  3. การวิเคราะห์
 
   
 

โรงเรียนบ้านด่านชัยพัฒนาโดยคณะกรรมการเครือข่ายโรงเรียนปลอดภัย
ได้ทำการวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์ปัญหาการบาดเจ็บของนักเรียน
และความไม่ปลอดภัยในโรงเรียนของแบบบันทึกทั้ง 2 ส่วน

ด้วยการนำแบบบันทึกทั้งหมดเสนอต่อคณะกรรมการเครือข่ายของโรงเรียน
ซึ่งประกอบด้วยคณะครู นักเรียนและผู้ปกครอง รวมทั้งสิ้น 15 คน
จากนั้นทำการแจงนับข้อมูลทีละชุด เพื่อหาผลสรุป เมื่อได้ผลสรุปแล้ว
คณะกรรมการร่วมกันพิจารณาเพื่อหาแนวทางในการป้องกันการบาดเจ็บ
ของนักเรียนโดยใช้ข้อมูลเป็นฐานในการแก้ปัญหา

เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2551 ซึ่งสามารถสรุปผลได้ดังนี้

   
  1. เพศ
1.1 ชาย 9 ราย
1.2 หญิง 6 ราย
* นักเรียนเพศชายเกิดการบาดเจ็บมากกว่านักเรียนเพศหญิง
   
 

2. อายุ
2.1 อายุ 7 ปี 4 ราย
2.2 อายุ 8 ปี 3 ราย
2.3 อายุ 5 ปี 2 ราย
2.4 อายุ 10 ปี 2 ราย
2.5 อายุ 11 ปี 2 ราย
2.6 อายุ 12 ปี 1 ราย
2.7 อายุ 6 ปี 1 ราย

* นักเรียนกลุ่มอายุ 7 ปี เกิดการบาดเจ็บมากที่สุด รองลงมาคือกลุ่มอายุ 8 ปี

   
 

3. กำลังเรียนชั้น
3.1 ป.1 4 ราย
3.2 อนุบาล2 3 ราย
3.3 ป.2 3 ราย
3.4 ป.4 2 ราย
3.5 ป.5 2 ราย
3.6 ป.6 1 ราย

* นักเรียนชั้น ป. 1 เกิดการบาดเจ็บมากที่สุด รองลงมาคืออนุบาล 2 และ ป.2

   
  4. สิ่งของที่เกี่ยวข้องและเป็นสาเหตุหลักของการบาดเจ็บ
4.1 สนามปูน 3 ราย
4.2 โต๊ะหิน/ม้านั่ง 2 ราย
4.3 ก้อนหิน 2 ราย
4.4 ต้นไม้/ท่อนไม้ 2 ราย
4.5 เสาเหล็ก 1 ราย
4.6 พลุ 1 ราย
4.7 คน 1 ราย
4.8 จักรยาน 1 ราย
4.9 เศษลวด 1 ราย
4.10 พื้นห้องเรียน(ปูน) 1 ราย

* สิ่งที่เกี่ยวข้องและเป็นสาเหตุหลักของการบาดเจ็บในนักเรียนมากที่สุดคือ สนามปูน รองลงมาคือโต๊ะหิน/ม้านั่ง ก้อนหิน ท่อนไม้
   
 

5. ชนิดของการบาดเจ็บ
5.1 ถูกกระทำจากคนโดยไม่ตั้งใจเช่นชน กระแทก
เล่นผลักแล้วล้ม จำนวน 5 ราย
5.2 พลัดตกหกล้ม จำนวน 4 ราย
5.3 ถูกแรงกระทำโดยวัตถุเช่นถูกชน
กระแทก กด หนีบฯลฯ จำนวน 4 ราย
5.4 ถูกแรงระเบิดโดยไม่ตั้งใจ จำนวน 1 ราย
5.5 การจราจร จำนวน 1 ราย

* นักเรียนที่ได้รับบาดเจ็บถูกกระทำจากคนโดยไม่ตั้งใจมีจำนวนมากที่สุด
รองลงมาคือพลัดตกหกล้ม และถูกกระทำโดยวัตถุ

   
  6. ช่วงเวลาเกิดเหตุ
6.1 ก่อนเข้าเรียน/หลังเลิกเรียน จำนวน 7 ราย
6.2 ช่วงเวลาพักกลางวัน จำนวน 5 ราย
6.3 ในระหว่างการเรียนการสอน จำนวน 2 ราย
6.4 อื่นๆ( ระหว่างนอนกลางวันของอนุบาล) จำนวน 1 ราย

* ช่วงเวลาของการบาดเจ็บเกิดขึ้นมากที่สุดช่วงก่อนเข้าเรียน/หลังเลิกเรียน
รองลงมาคือช่วงพักกลางวัน
   
  7. มีผู้พบเห็นเหตุการณ์โดยตรงระหว่างการเกิดเหตุ
7.1 มี จำนวน 14 ราย
7.2 ไม่มี จำนวน 1 ราย

* จากเหตุการณ์การบาดเจ็บที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่จะมีผู้พบเห็นเหตุการณ์
   
  8. สถานที่เกิดอุบัติเหตุ
8.1 ลานกีฬา(สนามปูน) จำนวน 3 ราย
8.2 ระเบียง/เฉลียง จำนวน 3 ราย
8.3 สนามหญ้า จำนวน 2 ราย
8.4 ห้องเรียน จำนวน 2 ราย
8.5 ถนน จำนวน 2 ราย
8.6 อื่นๆ(โต๊ะม้าหิน) จำนวน 2 ราย
8.7 สวนหย่อม จำนวน 1 ราย

* สถานที่ที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุมากที่สุดได้แก่ ลานกีฬา(ปูน) และระเบียง/เฉลียง
   
 

9. รายละเอียดลักษณะการบาดเจ็บ
9.1 ฟกช้ำ จำนวน 4 ราย
9.2 บาดแผลฉีกขาด จำนวน 3 ราย
9.3 บาดแผลทิ่มแทง จำนวน 3 ราย
9.4 บาดแผลถลอก จำนวน 2 ราย
9.5 บาดแผลจากวัตถุระเบิด จำนวน 1 ราย
9.6 บิดแพลง/เคล็ดขัดยอก จำนวน 1 ราย
9.7 อื่นๆ ( ปากแตก) จำนวน 1 ราย

* จากอุบัติเหตุทั้งหมดสามารถสรุปได้ว่านักเรียนได้รับบาดแผลฟกช้ำมากที่สุด
รองลงมาคือแผลฉีกขาดและแผลทิ่มแทง

   
  10. การช่วยเหลือการบาดเจ็บ
10.1 เข้ารับการรักษาที่ห้องพยาบาลของโรงเรียน จำนวน 13 ราย
10.2 เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลของรัฐ จำนวน 1 ราย
10.3 ไม่ต้องรับการรักษา จำนวน 1 ราย

* นักเรียนที่ได้รับบาดเจ็บส่วนใหญ่จะได้รับการรักษาจากห้องพยาบาลของโรงเรียน
   
   
 
  4. มาตรการหรือแผนการจัดความปลอดภัยของภาคเรียนที่ 2 /2551
 
   
  4.1 อบรมเกี่ยวกับการป้องกันอุบัติเหตุจากการเล่น ให้กับนักเรียน
   
  4.2 จัดตั้งคณะกรรมการนักเรียนดูแลด้านความปลอดภัยของนักเรียนช่วงก่อนเข้าเรียน / พักกลางวัน
   
  4.3 จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ในการปฐมพยาบาลให้เพียงพอ
   
   
 
   
 

5. ปัญหา/อุปสรรค ไม่มี
6. ข้อคิดเห็นอื่น ไม่มี
7. ผู้รวบรวมข้อมูล    นางสาวสุกัลญา  พรมจันทร์

               
   
   
 
 

คณะกรรมการเครือข่ายโรงเรียนปลอดภัย

   
 
 
 

จุดเสี่ยงด้านหลังอาคาร เป็นทางลัดเดินไปห้องน้ำ
หน้าต่างที่เปิดมีความสูงเท่ากับนักเรียน อาจเกิดอันตราย

   
 
 

จุดเสี่ยงข้างอาคาร  เด็กๆชอบไปวิ่งเล่นรอบๆ

   
 
 

จุดเสี่ยงโต๊ะม้าหิน  ขาหัก สภาพชำรุดไม่แข็งแรง

   
 
 

จุดเสี่ยงภายในอาคารบริเวณโต๊ะปิงปอง
มีเก้าอี้กองหลายชั้น  อาจตกใส่นักเรียนได้

   
 
 

จุดเสี่ยงหน้าอาคาร  มีเสาเหล็กหลายต้นบริเวณระเบียงทางเดิน นักเรียนอาจเดินชน

   
 
 

จุดเสี่ยงบริเวณสนามกีฬา(สนามปูน)
มีกองวัสดุวางอยู่
อาจเป็นอันตรายต่อนักเรียนที่มาเล่นกีฬา
เช่นสะดุด หกล้ม