ภาคการศึกษาที่ 1/2552

แบบรายงานเฝ้าระวังโรงเรียนประชานิเวศน์
ภาคการศึกษาที่ 1/2552
   
  เก็บข้อมูลตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม 2552 - 9 ตุลาคม 2552
   
 

1.ข้อมูลแบบบันทึกการเดินสำรวจ

ผลรายงานดังนี้

1.ได้เดินสำรวจสิ่งแวดล้อมเสี่ยงใน – รอบโรงเรียน จำนวน 1 ครั้ง

2.พบสิ่งแวดล้อมเสี่ยง / ไม่ปลอดภัย จำนวน/ 23 แห่ง ดังนี้

1.บอร์ดหน้าห้องสมุดมีลูกแม็กติดอยู่บริเวณขอบบอร์ดจำนวนมาก
นักเรียนอาจเดินไปครูดบอร์ดลูกแม็กอาจจะทิ่มแทงได้

2.หน้าห้องสมุดบอร์สถิติผู้เยี่ยมชมชำรุด

3.ฝ้าเพดานที่ล้างมือหน้าห้องน้ำหญิงแตกชำรุด
ฝ้าที่แตกอาจหลุดลงมาใส่นักเรียนได้รับบาดเจ็บได้

4.เครื่องเล่นกระดานลื่น
บริเวณด้านบนมีพวงมาลัยรถจำลองหลุดออกมาเหลือ
แต่ท่อเหล็กนักเรียนอาจจะไปกระแทกได้รับบาดเจ็บได้

5.ที่นั่งชิงช้า แตกเป็นพลาสติ

กแหลมคม อาจจะทิ่มแทงนักเรียนได้รับบาดเจ็บได้

6.บริเวณสนามเด็กเล่นพื้นยางไม่เสมอกัน
นักเรียนอาจสะดุดหกล้มได้

7.ม้ากระดกน็อตหลุดทำให้ทำให้การกระดก
ไม่มั่นคงนักเรียนอาจได้รับอันตรายได้

8.บริเวณหน้าห้องพละที่โหน
น็อตใส่ไม่สนิทอาจทำให้ที่โหนหลุดร่วงลงมาได้

9.เพดานบันไดทางขึ้น ป.5 เพดานชำรุดหลุดออกมา

10.ไม้ตรงบันไดทางเข้าห้องพยาบาลผุแตกหัก

11.ผนังห้องพยาบาลมีตะปูยื่นออกมา

12.หน้าห้อง1/3มีตะปูโผล่ออกมา
นักเรียนอาจไปโดนได้รับบาดเจ็บได้

13.ป1/4. คิ้วกระเบื้องตรงขอบประตูแตก

14.ห้องพยาบาลมีคิ้วกระเบื้องแตก

15.บริเวณสวนคณิตเหล็กรัดบอร์ดรัด
ไม่สนิทนักเรียนอาจโดนข่วนได้รับบาดเจ็บได้

16.ข้างห้องโรเนียวมีสังกะสีวางอยู่

17.หน้าห้อง 2/6 สวิตไฟหลุด

18.หน้าห้อง 3/3 ปลั๊กไฟหลุด

19.สวิตไฟหน้าห้องศูนย์วิทยบริการแตก

20.หลอดไฟนีออน 3 หลอดหน้าห้องน้ำ
ข้างห้องจริยะวางอยู่บนขอบกำแพงห้องน้ำอาจหล่นลงมาใส่นักเรียน

21.หน้าห้อง4/5 สวิตไฟหลวม

22.บันไดทางขึ้นห้องจริยะ
ฝาแผงปลั๊กไฟปิดไม่ได้ นักเรียนอาจไปเล่นได้รับอันตรายได้

23.ท่อระบายน้ำบริเวณข้างเสาธงแตกชำรุด
นักเรียนอาจตกลงไปได้รับบาดเจ็บได้

2.ข้อมูลแบบบันทึกการบาดเจ็บในและบริเวณรอบโรงเรียน
ผลรายงานดังนี้

๑.ได้บันทึกการบาดเจ็บของนักเรียนจำนวน 155 คน

๒.พบการบาดเจ็บ จากสิ่งแวดล้อมเสี่ยงจำนวน 1 คน
จากพฤติกรรมเสี่ยง 154 คน

๓.การบาดเจ็บจากสิ่งแวดล้อมเสี่ยงนั้น มีจำนวน 2 คน

๔.ได้แนบสำเนาแบบบันทึกการบาดเจ็บในและบริเวณ
รอบโรงเรียนทั้งหมดจำนวน 155 ชุด มาพร้อมรายงานนี้

3.การวิเคราะห์

3.1คณะกรรมการความปลอดภัย
นายรัฐพงษ์ รัฐสมุทร รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารงานทั่วไป
นางอำไพ บูรณสิงห์ ครู วิทยฐานะชำนาญการ
นางจันทนา พุ่มขจร ครู วิทยฐานะชำนาญการ
นายกิตกมล อินทรประพันธ์ ครู วิทยฐานะชำนาญการ
นายวินัย ปัญญาฤทธิ์ ครูอัตราจ้างโรงเรียน

3.2ได้ร่วมประเมินสถานการณ์ปัญหาการบาดเจ็บจากแบบบันทึก
นักเรียนเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจำนวน 22คน
รับการรักษาเจ้าหน้าที่ห้องพยาบาล 133คน

นักเรียน กทม. มีประกันอุบัติเหตุ
ในบางกรณีที่คุณครูพยาบาลไม่แน่ใจ จะส่งโรงพยาบาลเพื่อวินิจฉัย
และแจ้งให้ผู้ปกครองทราบ ไม่มีอุบัติเหตุ ร้ายแรงมี 1 คน
เหตุเกิดเวลาเลิกเรียนปีนแป้นบาสและตกลงมาเย็บ 5 เข็ม

เวลาการเกิดการบาดเจ็บ
ก่อนเรียน 7 ราย
ระหว่างเรียน 67 ราย
พักกลางวัน 61 ราย
หลังเรียน 20 ราย
รวม 155 ราย

การเกิดการบาดเจ็บระหว่างเรียนจะมากที่สุดบางกรณีเกิดนอกห้องเรียน
เช่นการขออนุญาตออกไปนอกห้องเกิดการหกล้ม
ในห้องเรียนจะเป็นวิชาพละเกิดจากการวิ่งหกล้ม
ส่วนมากจะเป็นนักเรียนชั้นเล็ก ๆ ป1 และป 2

ซึ่งนักเรียนอาจจะยังทรงตัวได้ไม่ดีพอ
ในวิชา ศิลปะ และกอท. เกิดจากอุปกรณ์ในการเรียน
ได้แจ้งในที่ประชุมครูให้เพิ่มความระมัดระวังให้มากขึ้น

สาเหตุการบาดเจ็บ
จากพฤติกรรม122ราย
จากการถูกกระทำ 31ราย
จากสิ่งแวดล้อม 2ราย
รวม 155ราย

บาดเจ็บจากสิ่งแวดล้อม
รายที่ 1
ใต้อาคารอินทนิล เศษปูนกระเทาะหลุดล่วงลงมาโดนบ่านักเรียน
มีรอยบวมแดงได้ส่งโรงพยาบาล มีอาการเคล็ดขัดยอกฟกช้ำ

ได้ทำการวิเคราะห์หาสาเหตุเนื่องจาก
บริเวณระเบียงอาคารมีการการปลูกต้นไม้
และรดน้ำเป็นประจำอันเป็นสาเหตุให้ปูนเสื่อมสภาพได้เกิดการบวม
และแตกหล่นลงมา ท่านผู้อำนวยการจึงได้ให้ทำการรื้อถอนต้นไม้
ที่ระเบียงออกให้หมดทุกอาคาร และจัดสวนหย่อมภายอาคารแทน
และตรวจสอบอาคารทุกอาคาร ทำการซ่อมแซมเรียบร้อยแล้ว

รายที่2
สะดุดขอบปูนบริเวณอาเขต
ขอบปูนเป็นพื้นที่ต่างระดับได้ทาสีส้มเพื่อเป็นที่สังเกตแล้ว
ได้ประชาสัมพันธ์ให้นักเรียนทราบและระมัดระวัง

แมลงมีพิษกัดต่อย
นักเรียนโดนผึ้งต่อยในห้อง 4/ 6 บริเวณต้นคอ ได้สำรวจหารังผึ้ง
มีรังแตนหน้าห้อง 4/3ได้ทำการเคลื่อนย้ายและทำลายแล้ว

การดำเนินการ
1.ได้ประชาสัมพันธ์โครงการห้องเรียนปลอดภัยเพื่อเป็นแรงจูงใจ
และออกรายการวีดิทัศน์ให้นักเรียน

ได้รู้จักการคิดวิเคราะห์สาเหตุของการบาดเจ็บ
และแนวทางแก้ไข

2.นำข้อมูลที่ได้วิเคราะห์การบาดเจ็บเสนอต่อที่ประชุมได้รับรู้ร่วมกัน

4.แผนการจัดความปลอดภัยภาคเรียนที่ 2/2552

-การฝึกซ้อมป้องกันตนจากอุบัติภัย ( อัคคีภัย – แผ่นดินไหว )

-รายการนาทีปลอดภัยวิเคราะห์สาเหตุของอุบัติเหตุ
ทุกวันจันทร์จากรายการวีดิทัศน์

-ห้องเรียนปลอดภัย มอบรางวัลห้องเรียนที่ไม่เกิดอุบัติเหตุเป็นประจำทุกเดือน

6. ปัญหาและอุปสรรค
โรงเรียนมีกิจกรรมหลายอย่าง
ทำให้งานไม่สามารถดำเนินการได้ตรงตามที่กำหนดไว้

   
   
 
  >โครงการโรงเรียนปลอดยาเสพตรวจปัสสาวะ
  >โครงการวินัยจราจร
  >รณรงค์งดสูบบุหรี่
  >สำรวจสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 152 ภาคเรียนที่ 1
   
   
   
   
 
 

ภาคการศึกษาที่ 1/2552

 

รายงานการเฝ้าระวังการบาดเจ็บในโรงเรียน