-หน้า2-
  >โรงเรียนเคหะชุมชนลาดกระบัง
   
 

6.2. การสำรวจและผังโรงเรียน
ผลจากการสำรวจข้อมูลอาคารเรียนและ
จัดทำผังอาคารเรียนโดยคณะกรรมการโรงเรียน

จากข้อมูลที่จัดทำแสดงให้เห็นจำนวนอาคาร
จำนวนชั้นแต่ละอาคาร จำนวนห้องเรียนและ
ขนาดพื้นที่แต่ละชั้นของอาคาร ซึ่งอาคาร 1,2 ,3,4
มีทางเชื่อมระหว่างอาคารเชื่อมต่อกันได้

จากการสำรวจได้พบจุดบอดของอาคารเรียนอยู่ที่อาคาร 4
ชั้นที่ 4 เป็นชั้นที่มีบันไดขึ้น-ลงข้างเดียวไม่มีทางเชื่อมต่ออาคาร
คณะกรรมการจึงแก้ไขปัญหาโดยจัดให้เป็นห้องเรียนพิเศษ
ไม่ใช้เป็นห้องเรียนประจำ และอาคาร 5,6,7
มีทางเชื่อมระหว่างอาคารเชื่อมต่อกันได้
ส่วนเส้นทางในการอพยพหนีไฟของนักเรียนให้ใช้บันไดขึ้น- ลง
ของแต่ละระดับชั้นในการอพยพหนีไฟ

เมื่อเกิดเหตุไฟไหม้ให้แต่ละระดับชั้นอพยพหนี
ไฟตามเส้นทางที่กำหนดมาที่จุดรวมพลให้เร็วที่สุด

หมายเหตุ
เมื่อเกิดอัคคีภัยให้ผู้ช่วยผู้อำนวยการ
แผนฉุกเฉินคนที่ 2 มีหน้าที่นำข้อมูลผัง
อาคารเรียนมาให้เจ้าหน้าที่ดับเพลิง เจ้าหน้าที่ตำรวจ
เพื่อวางแผนในการปฏิบัติหน้าที่ต่อไป

6.3. การเตรียมความพร้อมอุปกรณ์
ความพร้อมของอุปกรณ์ดับเพลิง หมายถึง
สภาพของเครื่องดับเพลิงที่มีสภาพที่กำหนด
ตามแบตรวจสภาพของเครื่องมือดับเพลิง ประจำปีดังนี้

1.มีป้ายแสดงตำแหน่งของเครื่องดับเพลิงชัดเจน
2.น้ำหนักของถังไม่ลด/เพิ่ม
3.สภาพถังไม่เกิดสนิม
4.มาตรวัดความดัน(เข็ม) ชี้อยู่ในแถบสีเขียว
5.เมื่อเขย่า ผงเคมีไม่จับตัวเป็นก้อน

การเตรียมความพร้อมของอุปกณ์ดับเพลิงมีความสำคัญยิ่ง
ต่อกรณีการเกิดอัคคีภัยภายในโรงเรียน
เพราะโดยส่วนมากโรงเรียนมักจะตั้งอยู่ศูนย์กลางของแหล่งชุมชน
ถ้าเกิดอัคคีภัยในโรงเรียนแล้วอุปกรณ์ดับเพลิงในโรงเรียนที่ไม่มีความพร้อม
อาจนำความสูญเสียจากอัคคีภัยขยายออกไปสู่ชุมชนในวงที่กว้างขึ้น

ดังนั้นการเตรียมอุปกรณ์ดับเพลิงให้มีความพร้อมใช้งานอยู่เสมอ
จึงเป็นสิ่งสำคัญต่อการระงับเพลิงเบื้องต้นก่อนที่หน่วยงานภายนอก
จะเข้ามามีบทบาทในการดับเพลิงต่อไป การตรวจสอบเครื่องดับเพลิง
ในโรงเรียนเป็นหน้าที่ของสภานักเรียนร่วมกับนักการภารโรงที่ประจำ
แต่ละอาคารเรียน โดยทำการตรวจสอบทุก 3 เดือน

 
 

6.4. การวางแผนซ้อม

ในการวางแผนการซ้อมอพยพนักเรียนจากอัคคีภัย
คณะกรรมการโรงเรียนปลอดภัยซึ่งประกอบด้วยครูและ
สภานักเรียนร่วมกันวางแผนงาน ก่อนวันซ้อมอพยพหนีไฟ ดังนี้

1. หัวหน้าระดับชั้นนัดหมายครูประจำชัน ประจำวิชา
และนักเรียนแต่ละระดับชั้นเกี่ยวกับการใช้เส้นทางอพยพหนี
ไฟมายังจุดรวมพลให้ปลอดภัยและรวดเร็วที่สุด
พร้อมทั้งนัดหมายการให้สัญญาณเมื่อเกิดภาวะฉุกเฉิน
ที่แตกต่างจากที่ใช้ประจำวัน(กำหนดใช้เสียงระฆัง)

2. นักการภารโรงสำรวจเส้นทางเข้า-ออกของรถดับเพลิง
รถพยาบาลในการที่จะเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ยังที่เกิดเหตุได้อย่างรวดเร็วที่สุด

3. ครูผู้สอนวิชาสุขศึกษาและพลศึกษาให้ความรู้ความเข้าใจ
และฝึกทักษะในการหนีไฟให้กับนักเรียนในชั่วโมงเรียนวิชาสุขศึกษา
และพลศึกษา ห้องเรียนละ 2 ชั่วโมง ก่อนวันซ้อมแผนอพยพหนีไฟ
ใน 2 หัวข้อ ได้แก่

- ความรู้เบื้องต้น เพื่อพ้นอัคคีภัย
- การหนีไฟ 6 ขั้นตอน

4. ผู้บริหารมีหน้าที่ประสานงานกับหน่วยงานนอกโดยนัดหมายวัน
เวลาที่จะซ้อมอพยพหนีไฟกับสถานีดับเพลิง สถานีตำรวจ ศูนย์บริการสาธารณสุข

5. สภานักเรียนร่วมกับคณะกรรมการโรงเรียนปลอดภัย
กำหนดจุดสมมุติเกิดเหตุไฟไหม้อาคาร(กำหนดอาคาร 1 ชั้น 3)
แล้ววางแผนเส้นทางอพยพและตรวจสอบสภาพเครื่องดับเพลิงให้พร้อมใช้งาน